วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

ผู้นำกับการจูงใจผู้คน

ผู้นำกับการจูงใจ
คนที่มีตำแหน่งผู้นำแต่ไม่มีความเป็นผู้นำจะนิยมใช้คำสั่ง แต่คนที่มีความเป็นผู้นำจะใช้การจูงใจ การจูงใจหมายถึงการกระตุ้นหรือเร้าให้บุคคลมีความเต็มใจที่จะใช้พลังเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ สิ่งที่ต้องเน้นคือ การจูงใจเป็นการเร้าให้เขาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความเต็มใจของเขาเอง ไม่ใช่ทำเพราะถูกบังคับ
คนที่เป็นผู้นำมักจะต้องนำผู้คนให้ทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายอยู่เสมอ ผู้นำจึงจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องการจูงใจเป็นอย่างดี
สิ่งที่จูงใจมนุษย์
ดังที่ทราบแล้วว่าการจูงใจไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นการทำให้คนทำตามเราด้วยความเต็มใจและการที่คนเต็มใจทำอะไรสักอย่างก็เพราะการทำสิ่งนั้นได้ตอบสนองความต้องการของเขาเองด้วย ฉะนั้นการที่เราจะจูงใจคนให้ได้ผลดี เราควรรู้ก่อนว่าคนเราต้องการอะไร เราจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการของเขา ซึ่งก็จะส่งผลให้เราจูงใจเขาได้
ทฤษฎี “ลำดับขั้นของความต้องการ” (hierachy of needs) ของอับราอัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจูงใจได้ มีหลักดังนี้คือ
1. มาสโลว์ได้จำแนกลำดับขั้นของความต้องการออกเป็น 5 ขั้นตามลำดับ จากขั้นพื้นฐานที่สุดไปจนถึงขั้นสูงสุดดังนี้ คือ (1) ความต้องการด้านร่างกาย (2) ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย (3) ความต้องการทางด้านความรัก (4) ความต้องการทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศ (5) ความต้องการทางด้านความสำเร็จสมหวัง 
ในเรื่องของความต้องการของมนุษย์ตามหลักการที่ว่ามานี้ เราสามารถขยายเพิ่มเติมเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการทั้งหมดของมนุษย์ให้ได้ครบถ้วนยิ่งขึ้นได้ว่า มนุษย์มีความต้องการในด้านต่างๆเหล่านี้ ได้แก่
1) ความต้องการด้านร่างกาย เป็นความต้องการพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ ได้แก่ การมีชีวิต การมีสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว และเพศสัมพันธ์
2) ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย เป็นความต้องการที่จะมีความปลอดภัยความมั่นคง ปราศจากความเจ็บปวด การถูกข่มขู่และคุกคาม รวมถึงความเจ็บไข้ได้ป่วย ความมั่นคงในงานอาชีพหรือรายได้ ความสะดวกสบาย เสรีภาพ
3) ต้องการความรัก เป็นความต้องการได้รับความรักและมิตรภาพจากผู้อื่น ได้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคนอื่น หรือเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มชน รวมทั้งการได้รับความรักความอบอุ่นจากพ่อแม่พี่น้อง เครือญาติ คู่รัก คู่สมรส ลูกหลาน รวมทั้งเพื่อน
4) ต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ เป็นความต้องการการยอมรับนับถือและการให้เกียรติจากผู้อื่น การมีชื่อเสียงและอำนาจ ความเป็นเลิศ ชัยชนะ
5) ต้องการความสำเร็จสมหวัง เป็นความต้องการการมีโอกาสได้สร้างสรรค์ การได้รับความสนุกสนานความบันเทิง การได้เป็นตัวของตัวเอง ได้บรรลุความใฝ่ฝันส่วนตัว
6) ต้องการความเต็มอิ่มทางจิตวิญญาณ เป็นความต้องการฝ่ายจิตวิญญาณ ได้แก่ การมีสันติสุขแท้ภายในส่วนลึกของจิตใจ การค้นพบตัวเองหรือคุณค่าแห่งชีวิตบางอย่าง การได้ทำสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่น การได้ทำความดี การบรรลุจุดสุดยอดของอุดมคติในชีวิต การมั่นใจว่าจะมีชีวิตหลังความตายที่ดี การมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า การเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า
หลักการข้อนี้สามารถนำมาใช้ในการจูงใจคนได้ว่า การจูงใจให้ผู้อื่นทำสิงใดสิ่งหนึ่ง เราต้อง
ตอบสนองความต้องการของเขาให้ได้ก่อน หรือให้เขาทราบว่าเมื่อเขาทำสิ่งนั้นแล้ว เขาก็จะได้รับสิ่งที่เขาต้องการ
  1. มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความต้องการไม่จำกัด เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว 
ความต้องการนั้นก็จะไม่เป็นสิ่งจูงใจอีกต่อไป หลักการข้อนี้สามารถนำมาใช้ในการจูงใจคนได้ว่า คนเรามีความต้องการหลายอย่าง เมื่อได้อย่างหนึ่งจนเพียงพอแล้วก็จะต้องการอย่างอื่นต่อไปอีก การจูงใจคนไม่ควรใช้สิ่งจูงใจเพียงอย่างเดียวตลอดไป
  1. โดยปกติแล้ว ความต้องการในระดับที่สูงกว่าจะไม่เกิดขึ้นหากความต้องการในระดับที่ตํ่ากว่ายัง
ไม่ได้รับการตอบสนอง หลักการข้อนี้สามารถนำมาใช้ในการจูงใจคนได้ว่า การจูงใจผู้คนจะได้ผลมากกว่าหากเสนอสิ่งที่ตอบสนองความต้องการในระดับพื้นฐานจนเพียงพอก่อน แล้วจึงตอบสนองความต้องการในขั้นที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ การจูงใจจะได้ผลน้อยหากเราพยายามตอบสนองความต้องการในขั้นสูงในขณะที่ความต้องการขั้นตํ่ากว่ายังไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ

วิธีจูงใจในทางปฏิบัติ
เมื่อเราทราบแล้วว่าคนเราต้องการอะไร เราก็สามารถใช้สิ่งนั้นจูงใจคนได้ วิธีการที่มักใช้ในการจูงใจก็คือ
  1. จูงใจด้วยเงินทองทรัพย์สิน คนต้องการเงินเพราะเงินสามารถนำไปซื้อสินค้าและบริการที่ตอบ สนองความต้องการได้อย่างกว้างขวาง โดยพื้นฐานคนจึงมักต้องการเงินมากที่สุด เราสามารถจูงใจผู้คนให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่เงินทองทรัพย์สิน โดยการให้ค่าตอบแทน เงินเดือน กำไร คอมมิสชั่น เงินปันผล บำเหน็จบำนาญ การขึ้นเงินเดือน เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถจูงใจในทางกลับกันได้ด้วยว่า หากเขาไม่ทำสิ่งนั้นเขาต้องเสียเงินทองทรัพย์สินได้ด้วย เช่น การถูกตัดเงินเดือน การเสียค่าปรับ การขาดทุน ฯลฯ
  2. จูงใจด้วยการให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย  เป็นการจูงใจให้ผู้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ความมั่นคงปลอดภัย เช่น ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความมั่นคงในอาชีพการงาน ความผ่อนคลาย ความสะดวกสบาย อิสรภาพและเสรีภาพ หรือจูงใจในทางกลับกันได้ด้วยว่า หากเขาไม่ทำสิ่งนั้นเขาจะไม่ได้รับสิ่งเหล่านี้ หรือต้องเสียสิ่งเหล่านี้!ป
  3. จูงใจด้วยการให้ความรักและความสัมพันธ์ เป็นการจูงใจให้ผู้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ความรักและความสัมพันธ์ เช่น ได้เพื่อนได้เป็นที่รัก ได้มิตรภาพ ได้เข้าวงสังคม ฯลฯ หรือจูงใจในทางกลับกันคือ หากเขาไม่ทำสิ่งนั้นก็จะไม่ได้รับความรักความสัมพันธ์ หรือต้องสูญเสียไปด้วย
  4. จูงใจด้วยการให้เกียรติยศชื่อเสียงและการยอมรับ  เป็นการจูงใจให้ผู้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้เกียรติยศชื่อเสียงและการยอมรับ เช่น การให้ตำแหน่ง เลื่อนตำแหน่ง ได้อำนาจสิทธิพิเศษ ให้คำชมเชย ยกย่องให้เกียรติ ให้ใบประกาศเกียรติคุณ ประกาศนียบัตร การได้เป็นคนที่ถือว่าเก่ง ประสบความสำเร็จ ทันสมัย ฯลฯ หรือจูงใจในทางกลับกันคือ หากไม่ทำสิ่งนั้นก็จะไม่ได้รับหรือสูญเสียสิ่งนี้ไป
  5. จูงใจด้วยการให้ความสนุกสนาน และการได้สร้างสรรค์  เป็นการจูงใจให้ผู้คนทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่ความสนุกสนาน หรือการได้สร้างสรรค์ ได้แสดงความเป็นตัวของตัวเอง
  6. จูงใจด้วยการชี้ให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่ทำที่กระทบจิตวิญญาณ เป็นการจูงใจให้คนอื่นทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อเห็นแก่สิ่งที่มีคุณค่าฝ่ายจิตวิญญาณ ได้แก่ การมีสันติสุขแท้ภายในส่วนลึกของจิตใจ การค้นพบตัวเอง หรือคุณค่าแห่งชีวิตบางอย่าง การได้ทำสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อผู้อื่น การได้ทำความดี การบรรลุจุดสุดยอดของอุดมคติในชีวิต การมั่นใจว่าจะมีชีวิตหลังความตายที่ดี การมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า การเป็นที่พอพระทัยพระเจ้า ในทางกลับกันคือ หากไม่ทำสิ่งนั้นก็จะไม่ได้รับหรือสูญเสียสิ่งเหล่านี้ไป
ข้อแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจูงใจ
1. ควรใช้กลไกการจูงใจให้เหมาะสมกับกรณี กลไกการจูงใจมีหลายอย่าง ได้แก่
1) ให้สิ่งจูงใจทางบวก เป็นการให้รางวัลหรือการให้สิ่งที่พอใจ เช่น ให้เงินให้ความรักให้คำชมเชย ให้การยอมรับ ให้ตำแหน่ง อำนาจ ชื่อเสียง ให้ความสะดวกสบายสนุกสนาน ให้อิสระ ฯลฯ ทั้งนี้อาจเป็นการให้หรือให้มากขึ้นก็ได้
2) ให้สิ่งจูงใจทางลบ เป็นการลงโทษหรือการให้สิ่งที่ไม่พอใจ เช่น ไม่ให้รางวัล ไม่ให้ผลประโยชน์ไม่ให้เงิน ตัดเงินหรือไม่เพิ่มเงินไม่ชมเชย ตำหนิไม่ให้ตำแหน่งหรือไม่ขึ้นตำแหน่ง ไม่ให้ความใกล้ชิดสนิทสนม ไม่ให้อิสระ บังคับควบคุม ลงโทษ ไล่ออก ฯลฯ
2. การจูงใจจะได้ผลยิ่งขึ้น หากเน้นที่ผลประโยชน์ของผู้รับการจูงใจเองเป็นหลัก หรือเน้นที่ผลประโยชน์ส่วนรวม การเน้นถึงประโยชน์ที่ตัวผู้จูงใจเองได้รับมักจะลดแรงจูงใจลงไป
3. การจูงใจจะได้ผลยิ่งขึ้น หากผู้รับการจูงใจไม่รู้สึกว่าตนเองถูกบังคับให้ต้องเชื่อฟัง แต่ตัดสินใจด้วยดุลยพินิจของตนเอง ฉะนั้นจึงไม่ควรใช้กำลังหรือการบังคับ คำสั่งและการบังคับมักทำให้รู้สึกอยากต่อต้านมากกว่า
4. การจูงใจจะได้ผลยิ่งขึ้น หากผู้รับการจูงใจรู้สึกได้รับการยอมรับและการให้เกียรติจากผู้จูงใจ และรู้สึกว่าผู้จูงใจเป็นแบบอย่างที่ดี มีความตั้งใจที่ดี มีคุณธรรม จริงใจ และยุติธรรม
5. การจูงใจจะได้ผลยิ่งขึ้น หากผู้รับการจูงใจเห็นแบบอย่างของคนอื่น คนหมู่มาก หรือคนที่เป็นที่ยอมรับ คนจำนวนมากจะมีอิทธิพลที่ช่วยหลอมและกลืนพฤติกรรมของคนจำนวนน้อย คนจำนวนน้อยจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัยขึ้นที่ได้เป็นเหมือนกับคนจำนวนมาก รวมทั้งคนที่มีชื่อเลียงหรือคนที่เขายอมรับก็จะมีอิทธิพลให้อยากเอาอย่าง
6. พยายามเลือกวิธีจูงใจโดยไม่ต้องพูดชักจูง หรือจูงใจโดยผู้ถูกจูงใจยินดีกระทำเอง เช่น ถ้าอยากให้สมาชิกมานมัสการอย่างสมํ่าเสมอก็ให้พยายามทำให้การนมัสการเป็นพระพรและน่าสนใจ สมาชิกก็จะอยากมาเองโดยไม่ต้องเชิญชวนมาก หรืออยากให้สมาชิกไม่รีบกลับบ้านหลังการนมัสการจบก็จัดอาหารกลางวันให้ และจัดที่นั่งที่สะดวกสบายอย่างพอเพียง สมาชิกทุกคนก็อยากจะนั่ง ไม่รีบกลับ เราก็ไม่ต้องประกาศว่าอย่าเพิ่งรีบกลับ เหล่านี้เป็นต้น

ลักษณะพิเศษของการจูงใจแบบคริสเตียน
  1. ต้องมีความจริงใจต่อผู้ที่เราจูงใจ จริงใจหมายถึงมีความประสงค์ดี มีความปรารถนาดีต่อผู้ที่เราจูงใจ
อย่างแท้จริง ไม่มีความประสงค์ร้าย หรือการแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเคลือบแฝง
  1. ในการจูงใจต้องนำเสนอสิ่งจูงใจที่มีแต่ความจริงทั้งหมด ต้องไม่ใช่เรื่องโกหก หลอกลวง หรือ

ความจริงครึ่งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น