การใช้อำนาจในการนำ
ศิลปะการใช้อำนาจ
- ก่อนที่จะใช้อำนาจเราต้องรู้ว่าอำนาจที่ตนมีนั้นได้มาจากไหน ใครเป็นผู้มอบอำนาจนั้นให้เรา และ
ต้องรู้ว่าอำนาจที่ตนได้รับนั้น มีให้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีขอบเขตแค่ไหน เริ่มต้นเมื่อไรสิ้นสุดเมื่อไร นั่นหมายความว่า เราต้องใช้อำนาจให้ตรงกับวัตถุประสงค์ อยู่ภายในขอบเขต และระยะเวลาที่กำหนด
- ในโอกาสปกติพยายามอย่าใช้อำนาจด้วยคำสั่ง แต่ใช้คำขอร้อง ขอความร่วมมือ และการจูงใจแทน
คนจะรู้สึกอยากทำตามด้วยความเต็มใจมากกว่า
- เราควรจะใช้อำนาจเมื่อจำเป็นเท่านั้น และใช้เพียงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน้าที่รับผิดชอบ
ของเราเท่านั้น
- ที่ต้องระวังคือ อย่าใช้อำนาจเกินกว่าที่ตนเองมี และอย่าใช้อำนาจเกินจนไปล่วงละเมิดอำนาจและ
สิทธิของผู้อื่น ตัวอย่างเช่น เราอาจมีสิทธิ์ตัดเงินเดือนพนักงาน หรือไล่พนักงานออก แต่เราไม่มีสิทธิไปละเมิดสิทธิพื้นฐานความเป็นมนุษย์ของเขา ไม่มีสิทธิ์ไปทุบตีเขา ละเมิดทางเพศเขา เป็นต้น
- เราต้องเชื่อฟังผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าเรา และหากมีความขัดแย้งระหว่างผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าเราสองคน
ต้องเชื่อฟังผู้ที่มีอำนาจสูงกว่าในสองคนนั้น
- ควรมีการมอบอำนาจหรือกระจายอำนาจแก่ผู้อื่นบ้างตามสมควร เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
รูปแบบการใช้อำนาจของผู้นำ
รูปแบบการใช้อำนาจของผู้นำมีอยู่ 3 รูปแบบใหญ่ๆ คือ อนาธิปไตย ประชาธิปไตย และอำนาจนิยม
อนาธิปไตย เป็นการใช้อำนาจแบบไม่ใช้อำนาจเลย เป็นการปล่อยอิสระ ปราศจากการนำการปกครองใดๆ จุดแข็งคือไม่มีการใช้อำนาจเลย ทุกคนมีอิสระเสรีเต็มที่ จุดอ่อนคือไร้ระเบียบไร้ทิศทาง
ประชาธิปไตย เป็นการใช้อำนาจแบบที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นและตัดสินใจ จุดแข็งคือผู้คนมีส่วนร่วมได้มาก คนส่วนใหญ่มักจะพอใจ รวมทั้งยังตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของผู้นำได้ ทำให้ผู้นำใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ยากขึ้น จุดอ่อนคือมักจะดำเนินการสิ่งต่างๆได้ช้า และบางครั้งเสียงส่วนใหญ่ก็อาจตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
อำนาจนิยม เป็นการใช้อำนาจแบบผู้นำมีอำนาจสูงสุด เหมือนกับพ่อปกครองลูกเล็ก ๆ จุดแข็งคือผู้นำชี้นำได้เต็มที่ ดำเนินการอย่างรวดเร็วเพราะใช้อำนาจบังคับ จุดอ่อนคือผู้คนมัก'โม่พอใจที่ต้องถูกบังคับ และผู้นำมีโอกาสใช้อำนาจในทางที่ผิดได้ง่ายโดยปราศจากการตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจ
แล้วรูปแบบการใช้อำนาจแบบไหนดีที่สุด? เรื่องน!ม่มีรูปแบบที่ตายตัว ความเหมาะสมใน
การใช้อำนาจแบบต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการคือ
1. โครงสร้างอำนาจขององค์กร หากองค์กรมีเจ้าของคนเดียวและคนในองค์กรล้วนเป็นลูกจ้าง เจ้าของก็ย่อมมีสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดในการสั่งการ ไม่จำเป็นต้องฟังใคร หากมีเจ้าของร่วมหรือผู้ถือหุ้นก็ต้องมีการฟังเสียงของผู้ถือหุ้น หากเราเป็นเจ้าของหรือได้รับแต่งตั้งจากเจ้าขององค์กรให้ทำหน้าที่บริหาร เราก็ย่อมมีอำนาจสั่งการได้เต็มที่ แต่หากองค์กรของเราเป็นการรวมตัวแบบอาสาสมัคร หรือแต่ละคนในองค์กรมีสิทธิมีอำนาจพอๆกัน เราก็ไม่ควรใช้อำนาจแบบเด็ดขาดแต่ควรนำด้วยการจูงใจ หรือใช้การนำที่โน้มเอียงไปทางแบบประชาธิปไตย
2. ลักษณะภารกิจขององค์กร หากองค์กรมีภารกิจประเภทที่ต้องมีการเชื่อฟังการตัดสินใจของผู้นำและต้องทำตามอย่างฉับพลันทันทีจึงจะสำเร็จ หรือมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหาย จะมารออภิปรายกันก่อนไม่ได้ ต้องเชื่อฟังทำตามทันทีไปก่อน แล้วภายหลังจึงค่อยมาอภิปรายกัน ภารกิจแบบนี้ก็จะต้องใช้การนำแบบที่โน้มเอียงไปทางอำนาจนิยม เช่น กองทัพ ตำรวจ เป็นต้น แต่ถ้าองค์กรมีภารกิจประเภทที่ต้องอาศัยการระดมสมอง ระดมความคิด ก็ควรใช้การนำแบบที่โน้มเอียงไปทางแบบประชาธิปไตย
3. ช่วงชีวิตขององค์กร (หรือวุฒิภาวะขององค์กร) หากองค์กรอยู่ในช่วงชีวิตแบบเด็ก คือบรรดาผู้ตามยังขาดวุฒิภาวะ ขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดประสบการณ์ ขาดวินัยมากและผู้นำมีวุฒิภาวะสูงกว่าผู้ตามมาก ผู้นำก็จำเป็นต้องใช้การนำโน้มเอียงไปทางอำนาจนิยม แต่เมื่อองค์กรอยู่ในช่วงชีวิตแบบผู้ใหญ่ คือผู้ตามมีวุฒิภาวะ มีความรู้ความเข้าใจประสบการณ์ และมีวินัยแล้ว จนใกล้เคียงหรือทัดเทียมกับผู้นำ ผู้นำก็ควรนำแบบโน้มเอียงไปทางประชาธิปไตย
4. ความจำเป็นของแต่ละสถานการณ์ หากเป็นสถานการณ์ที่รีบเร่งและฉุกเฉิน ก็ต้องใช้การนำแบบโน้มเอียงไปทางอำนาจนิยม แต่ในสถานการณ์ที่ไม่รีบเร่ง ก็ใช้แบบที่โน้มเอียงไปทางประชาธิปไตย เช่น หากเกิดเหตุไฟไหม้ ผู้มีอำนาจก็ต้องใช้การสั่งการอย่างเฉียบขาดทันที จะมามัวประชุมอยู่ไม่ได้ แต่หากเป็นการวางแผนงานประจำปีก็สามารถใช้การประชุมปรึกษาระดมสมองได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น